วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
   ก่อนการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรรมก่อน
1.กิจกรรมมือของฉัน



   โดยอาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปมือของตัวเอง โดยการให้วางมือข้างที่ไม่ถนัดลงบนกระดาษแล้วให้ใช้มือข้างที่ถนัดวาดฝ่ามือของตนเองแล้ววาดฝ่ามือให้เหมือนที่สุด โดยที่ไม่ต้องหงายฝ่ามือของตนเองขึ้นมาดู จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำมาส่งอาจารย์ อาจารย์สลับภาพวาดของนักศึกษาแล้วแจกให้เพื่อน ทุกคนจะได้ภาพวาดคนละ 1 แผ่น และจะต้องไม่ซ้ำเป็นของตัวเอง จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาไปตามหาว่าภาพที่ตนเองได้เป็นภาพวาดของเพื่อนคนไหนโดยดูจากฝ่ามือ 
    จากการทำกิจกรรมนี้ ทำให้ทราบว่าเมื่อสังเกตพฤติกรรมเด็ก จะต้องจดบันทึกไว้เสมอ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปเราอาจจะจำไม่ได้ เหมือนกับลายมือตนเองที่ติดตัวมาตั้งเเต่เกิด เราก็ยังจำไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร

2.กิจกรรมวงกลมหลากสี



   กิจกรรมนี้ครูให้นักศึกษาวาดรูปวงกลม ตามจินตนาการของตนเอง จะวาดรูปวงกลมเล็ หรือใหญ่ก็ได้ โดยครูจะมีสีเทียนให้ จากการทำกิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเราตามหลักจิตวิทยา โดยสีที่อยู่ตรงกลางหมายถึงสีที่แสดงถึงความรู้สึกลึกๆที่อยู่ภายในจิตใจของเรา และสีที่อยู่ภายนอกหมายถึงสิ่งที่เราแสดงออกมาให้คนอื่นได้เห็น จากนั้นครูก็ให้นักศึกษาออกมาติดรู
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
   • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
   • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
   • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
   • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
   • คัดแยกเด็กพิเศษ
   • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
   • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
   • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
   • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
   • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
   • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
   • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
   • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของ
แผน
   • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
   • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
   • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
   • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
   • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
   • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
   • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
   • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
   • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
   • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
   • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
   • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
   • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
    1. การรวบรวมข้อมูล
       • รายงานทางการแพทย์
       • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
       • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
   2. การจัดทำแผน
       • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
       • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
       • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
       • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
      • ระยะยาว
      • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
      • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
           – น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
           – น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
           – น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
     • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
     • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
     • จะสอนใคร
     • พฤติกรรมอะไร
     • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
     • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
  ตัวอย่าง
       • ใคร  
       • อะไร 
       • เมื่อไหร่ / ที่ไหน  
       • ดีขนาดไหน 
       • ใคร 
       • อะไร  
       • เมื่อไหร่ / ที่ไหน
       • ดีขนาดไหน 
   3. การใช้แผน
        • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
        • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
        • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
        • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอ
        • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
              1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
              2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
              3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
              4. การประเมินผล
                   • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
                   • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


 การนำมาประยุกต์ใช้
      -สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนให้เด็กๆในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
     -สามารถนำเอาโปรแกรมการศึกษารายบุคคลที่เรียนมา มาใช้ในการเขียนแผน IEP ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็กพิเศษแต่ละประเภทได้
     -นำมาเป็นความรู้เพื่อต่อยอดการเรียนต่อไปในอนาคตได้

 ประเมินผล
  ประเมินตนเอง
    มาเรียนแต่เช้า เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมชีคเอกสารที่ต้องนำมาเรียน ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหาสาระสำคัญ

  ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน ส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อย ไม่พูดคุยกันในระหว่างที่อาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่าง

  ประเมินอาจารย์
   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา อาจารย์อธิบายการเขียนแผน IEP ได้อย่างเข้าใจ มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน                                 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น