วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 1 มีนาคม 2560
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
   ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาเล่าถึงการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา และแจกวัสดุอปกรณ์คือ สีเมจิก 

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

•มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     -ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
     -ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
     -ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
  การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
     👉ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)      
        -ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์      
        -ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด     
        -กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น   
        -เอะอะและหยาบคาย   
        -หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน    
        -ใช้สารเสพติด      
        -หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ




       👉ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)              
         -จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
         -ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา      
         -งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด       
       👉สมาธิสั้น (Attention Deficit)             
         -มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา             
         -พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น             
         -มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ       
      👉การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)                                                             
         -หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น             
         -เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา           
         -ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก       
       👉ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
          -ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)              
          -การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)              
          -การปฏิเสธที่จะรับประทาน              
          -รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้              
          -โรคอ้วน (Obesity)             
          -ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)      
        👉ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง             
            -ขาดเหตุผลในการคิด             
           -อาการหลงผิด (Delusion)             
           -อาการประสาทหลอน (Hallucination)             
           -พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง       
      สาเหตุ          
1.ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)          
2.ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)        
       ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก           
      -ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ            
      -รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
      -มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน            
      -มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์           
      -แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย            
      -มีความหวาดกลัว         
     เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก             
1.เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)             
2.เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
-------------------------------------------------
เด็กสมาธิสั้น 
(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




  ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
                                                          1.Inattentiveness                                                                                                            2.Hyperactivity                                                                                                                3.Impulsiveness    
       1.Inattentiveness (สมาธิสั้น)        
          -ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ        
          -ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ        
         -มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย        
         -เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ        
         -เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด    
      2.Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)       
         -ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก       
        -เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา        
        -เหลียวซ้ายแลขวา        
        -ยุกยิก แกะโน่นเกานี่      
        -อยู่ไม่สุข ปีนป่าย       
        -นั่งไม่ติดที่      
       -ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง     
     3.Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)        
       -ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม       
       -ขาดความยับยั้งชั่งใจ
       -ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
       -ไม่อยู่ในกติกา      
       -ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง  
      -พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง     
      -ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน     
    สาเหตุ         
         -ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)         
          -ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)         
          -พันธุกรรม         
          -สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ   
    💖ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น💖    
       สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

✊อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )✊
✊สมาธิสั้น (Attention Deficit )✊

     ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
        -อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน        
        -ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก       
        -ดูดนิ้ว กัดเล็บ       
        -หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม       
        -เรียกร้องความสนใจ        
        -อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า        
        -ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว        
        -ฝันกลางวัน        
        -พูดเพ้อเจ้อ
👱👱👱👱👱👱👱👱👱👱👱👱👱

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)



         -เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก          -เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน        
        -เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด       
        -เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด 




การนำมาประยุกต์ใช้
   -สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไปในอนาคตได้
   -นำไปเป็นความรู้ในการเรียนต่อไปในอนาคต
   -นำไปใช้ในการฝึกการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิเศษ

ประเมินผล
  ประเมินตนเอง
    เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม สนุกสนานในการเรียนการสอน และไม่ค่อยพูดคุยกันในระหว่างที่อาจารย์สอน

  ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา มีอุปกรณ์วัสดุมาเเจก และอาจารย์ตั้งใจสอน อธิบายสาระการเรียนได้อย่างเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น